การคิดดอกเบี้ย: อัพเดท 2022/2565 – วิดีโอรีวิวการคิดดอกเบี้ย(สมัครรึลงทะเบียน) วิธีทำและใช้อย่างไง รายละเอียดและข้อมูล
มีไว้ ใช้เป็น ไม่เสียหาย! เปิด 4 ข้อดีของการมีบัตรกดเงินสด
มีไว้ ใช้เป็น ไม่เสียหาย! เปิด 4 ข้อดีของการมีบัตรกดเงินสด หากพูดถึงบัตรกดเงินสด หลาย ๆ คนอาจคิดว่าคือบัตรเครดิต แต่ความจริงแล้ว บัตรกดเงินสด คือหนึ่งในรูปแบบของสินเชื่อทางการเงินที่สถาบันทางการเงินออกให้แก่บุคคลธรรมดา ซึ่งบัตรกดเงินสดนั้นจะมีความแตกต่างจากบัตรเครดิตตรงที่การคิดอัตราดอกเบี้ยที่มีความแตกต่างกันเท่านั้น ซึ่งบัตรกดเงินสดนั้น หากทราบวิธีการใช้งานอย่างถูกวิธี การมีบัตรกดเงินสดติดตัวไว้ก็เป็นเรื่องที่ไม่เสียหายอย่างแน่นอน…
เงินกู้นอกระบบ, ดอกเบี้ยเกินกำหนด/EP129 #ทนายบอล
ความรู้ใกล้ตัวเกี่ยวกับกฎหมายในชีวิตประจำวันและให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย การปล่อยเงินกู้ ไม่ถือว่าเป็นการผิดกฎหมาย ไปหากเป็นการปล่อยเงินกู้นอกระบบการคิดดอกเบี้ยที่เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด จะถือว่าผิดกฎหมายซึ่งมีพระราชบัญญัติ คุ้มครองการเรียก ดอกเบี้ย กว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ เป็นคดีอาญามีโทษจำคุกและมีโทษปรับ
การคิดดอกเบี้ยที่ควรรู้ไว้ เพื่อหาเงินกู้ที่เหมาะสมกับตัวเรา
ทุกวันนี้ เราทุกคนต่างก็ต้องเผชิญหน้ากับสภาวะที่ค่าครองชีพแพง ในขณะที่ค่าแรงถูก ซึ่งแน่นอนว่าถ้าหากเราต้องการเงินก้อน หรือจำเป็นต้องใช้เงินที่อนุมัติไว และถูกกฎหมาย ก็สามารถขอสินเชื่อกู้เงินธนาคารได้ง่าย ๆ แต่การที่จะเลือกสมัครสินเชื่อ นอกจากจะต้องพิจารณาวงเงินอนุมัติ และระยะเวลาในการผ่อนชำระคืนที่เหมาะสมกับตัวเราแล้ว ที่สำคัญยังต้องยังต้องพิจารณาถึงดอกเบี้ยเงินกู้ควบคู่กันไปด้วย ว่าธนาคารมีการคิดดอกเบี้ยอย่างไร หรือคิดดอกเบี้ยเงินกู้แบบไหน และสำหรับใครที่กำลังวางแผนจะกู้เงินดอกเบี้ยถูก บทความของเราเป็นประโยชน์กับคุณอย่างแน่นอน เพราะวันนี้เราจะมาพูดถึงการคิดอัตราดอกเบี้ยกันนั่นเอง
ประเภทของการคิดดอกเบี้ยของสถาบันทางการเงิน
การคิดดอกเบี้ย เป็นสิ่งสำคัญมากอย่างหนึ่งที่เราทุกคนควรจะรู้ และทำความเข้าใจเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นการขอสินเชื่อกับธนาคารโดยตรง หรือกู้เงินออนไลน์ ก็ควรศึกษาเงื่อนไข อัตราดอกเบี้ย และวิธีคิดดอกเบี้ยเสียก่อน เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม และวางแผนทางการเงินได้อย่างเหมาะสม
เมื่อนึกถึงคำว่า “ดอกเบี้ยเงินกู้” เราก็มักจะได้ยินคำว่าเปอร์เซนต์ และร้อยละตามมา โดยการคิดดอกเบี้ยจะคิดเป็นแบบปีต่อปี และการคิดดอกเบี้ยต่อเดือน การขอสินเชื่อกับสถาบันทางการเงินนั้น จะมีอัตราดอกเบี้ยที่ถูกควบคุมโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งในปัจจุบันกำหนดไม่ให้คิดดอกเบี้ยเงินกู้เกิน 15% หรือร้อยละ 15 ต่อปี โดยอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินมีอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน คือ
- อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ (Fixed Rate)
เป็นการคิดดอกเบี้ยแบบตายตามสถาบันการเงินกำหนดเอาไว้ โดยที่ไม่มีการปรับเปลี่ยนตลอดอายุสัญญา
- อัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว (Floating Rate)
เป็นการคิดดอกเบี้ยที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามวงเงินของสินเชื่อ โดยทางสถาบันการเงินจะแจ้งให้ผู้กู้ทราบเป็นระยะ ๆ อาทิเช่น MLR (Minimum Loan Rate) , MOR (Minimum Overdraft Rate) และ MRR (Minimum Retail Rate) เป็นต้น
การคิดดอกเบี้ยแบบ Flat Rate เงินต้นคงที่ตลอดสัญญา
เมื่อรู้จักอัตราดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินใช้ในการคิดดอกเบี้ยสินเชื่อแล้ว เราก็มาต่อกันที่วิธีในการคำนวณดอกเบี้ยเงินกู้กันเลยดีกว่า โดยหลักการคำนวณอัตราดอกเบี้ยนั้น ก็มีอยู่ 2 วิธีด้วยกัน คือ การคิดอัตราดอกเบี้ยแบบเงินต้นคงที่ และการคิดดอกเบี้ยเงินกู้แบบลดต้นลดดอก
มาเริ่มกันที่การคิดอัตราดอกเบี้ยแบบเงินต้นคงที่ (Flat Rate) กันก่อน การคิดดอกเบี้ยรูปแบบนี้ ส่วนใหญ่มักจะใช้กับสินเชื่อเช่าซื้อรถมอเตอร์ไซค์ และสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ โดยจะคิดดอกเบี้ยเงินกู้จากเงินต้นทั้งก้อนตลอดทั้งอายุสัญญา แม้ลูกค้าจะได้ทำการผ่อนชำระเงินต้นไปบางส่วนแล้วก็ตาม ก็จะไม่มีการนำมาหักลบแต่อย่างใด
ดอกเบี้ยที่ต้องชำระทั้งหมด=เงินต้นอัตราดอกเบี้ย ต่อปีระยะเวลา(ปี)
จำนวนเงินที่ต้องชำระในแต่ละงวด=เงินต้น+ดอกเบี้ยที่ต้องชำระจำนวนงวดทั้งหมด |
ตัวอย่าง
ยื่นกู้สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ 100,000 บาท ดอกเบี้ยร้อยละ 15% ต่อปี ระยะเวลาในการเช่าซื้อ 5 ปี
ดอกเบี้ยที่ต้องชำระทั้งหมดตลอด 5 ปี (60 เดือน)
= เงินต้น อัตราดอกเบี้ยต่อปี ระยะเวลา (ปี)
= 100,000 บาท 15% ต่อปี 5 ปี
= 75,000 บาท
จำนวนเงินที่ต้องชำระในแต่ละงวด
= 100,000 บาท + 75,000 บาท60 เดือน
=2,916.67 บาท
การคิดดอกเบี้ยแบบ Effective Rate จ่ายก็มากลดมาก
เรามาต่อกันที่การคำนวณดอกเบี้ยวิธีสุดท้าย ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้ในการคำนวณดอกเบี้ยของสินเชื่อเงินกู้เกือบประเภท นั่นก็คือ การคิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก (Effective Rate) โดยจะคิดดอกเบี้ยจากจำนวนเงินต้นที่คงเหลืออยู่ในแต่ละงวด
ดอกเบี้ยที่ต้องชำระ=เงินต้นคงเหลืออัตราดอกเบี้ย(ต่อปี)×จำนวนวันในงวดจำนวนวันใน 1 ปี
เงินต้นที่ลดลง=จำนวนเงินที่ต้องชำระ-ดอกเบี้ยที่ต้องชำระ เงินต้นคงเหลือ=เงินต้นคงเหลืองวดก่อนหน้า-เงินต้นที่ลดลง |
ตัวอย่าง
ได้รับวงเงินสินเชื่อส่วนบุคคล 100,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 24%ต่อปี เลือกผ่อนชำระ 3 ปี (36 เดือน) ชำระทุกวันที่ 1 ของเดือน และผ่อนชำระงวดละ 4,000 บาท
ดอกเบี้ยที่ต้องชำระในงวดที่ 1 สมมุติว่าเป็นเดือนมีนาคม
= 100,000 บาท 24%ต่อปี 31 วัน365 วัน
= 2,038.36 บาท
เงินต้นที่ลดลง
= 4,000 บาท – 2,038.36 บาท
= 1,961.64 บาท
เงินต้นคงเหลือ
= 100,000 บาท – 1,961.64 บาท
= 98,038.36 บาท
ดอกเบี้ยที่ต้องชำระในงวดที่ 2 สมมุติว่าเป็นเดือนเมษายน
= 98,038.36 บาท 24%ต่อปี 30 วัน365 วัน
= 1,933.91 บาท
เงินต้นที่ลดลง
= 4,000 บาท – 1,933.91 บาท
= 2,066.09 บาท
เงินต้นคงเหลือ
= 100,000 บาท – 2,066.09 บาท
= 97,933.91 บาท
และทั้งหมดนี้ ก็คือ เรื่องราวของการคิดดอกเบี้ยที่ทุกคนควรจะรู้เอาไว้ หวังว่าทุกคนจะได้ประโยชน์ไม่มากก็น้อย หากใครที่กำลังตัดสินใจเลือกสินเชื่อ ลองนำวิธีการเหล่านี้ไปคำนวณดูก็ได้ จะได้ช่วยให้คุณสามารถเปรียบเทียบหาแหล่งกู้เงินที่ไหนดอกเบี้ยถูกอย่างที่คุณต้องการได้ อย่างไรก็ตาม ศึกษาเงื่อนไข และรายละเอียดให้ดีก่อนตัดสินใจ จะได้ไม่เป็นการเพิ่มภาระให้กับตัวคุณ